วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
คุณค่าของ CAI
ในด้าน คุณค่าของ CAI ต่อการศึกษา นั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) มีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนหลายประการ ดังนี้ ( กิดานันท์ มลิทอง, 2535 )
1. คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็น ประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
2. การใช้สี ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น
3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนได้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้
4. ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง ทำให้สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
5. ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตนโดยสะดวกอย่างไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด
6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูล ได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI จึงนับว่ามีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง แต่การพัฒนา CAI ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา การสร้างและทำการศึกษาวิจัย CAI ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งรายวิชา ตรงตามหลักสูตรในลักษณะเป็น บทเรียนสำเร็จรูปการสอน (Instruction) เนื้อหาหรือความรู้ใหม่ ดำเนินหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้และหาประสิทธิผลของการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจทำการศึกษาวิจัยอย่างยิ่งในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิวัฒนาการและประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI สามารถสรุปความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพอสังเขป ได้ดังนี้ (ศูนย์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ, 2545)
ปี ค.ศ. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.ศ. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI ปี ค.ศ. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น
ปี ค.ศ. 1971 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทำการเผยแพร่บทเรียนได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวโน้มในอนาคตต่อไปอันใกล้นี้ เราอาจพบเห็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนำเสนอผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า CAI on Web
ข้อดี-ข้อจำกัดของ CAI
| |||||||
ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ อันจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น การเรียน (Active Learner) ช่วยให้การเรียนการสอนมีบรรยากาศที่ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามอัตราความสามารถของตนเอง อันเป็นการสนองตอบผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี ความแปลกใหม่ของคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มความสนใจและความตั้งใจของผู้เรียนให้มีมากขึ้น ความสามารถในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ทำให้การออกแบบบทเรียนให้สนองตอบผู้เรียน แต่ละคนได้ และสามารถประเมินผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว | |||||||
สามารถให้การเสริมแรงได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบ โดยการให้ผลย้อนกลับทันทีในรูปของคำอธิบาย สีสัน ภาพ และเสียง ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยช่วยให้การสอนมีคุณภาพสูงและคงตัว ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนสามารถกระทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ผู้เรียนสามารถเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ ช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการดูแลผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่าย และสะดวกในการนำออกไปใช้ | |||||||
|
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
Computer Assisted Learning: A Helpful Approach in Learning English
The surveys a number of EFL/ESL International learners in Malaysia.
The findings > majority of learners find > CALL system helpful in improving their language skills, specifically in grammar component.
The findings > majority of learners find > CALL system helpful in improving their language skills, specifically in grammar component.
Abbreviations:
1. CALI : Computer Assisted Language Instruction
2.CALL : Computer Assisted Language Learning
3.FL: Foreign Language4.GTM: Grammar Translation Method
5.PBL: Project-Based Learning
6.SL: Second Language
7.TELL: Technology- Enhanced Language Learning
1. CALI : Computer Assisted Language Instruction
2.CALL : Computer Assisted Language Learning
3.FL: Foreign Language4.GTM: Grammar Translation Method
5.PBL: Project-Based Learning
6.SL: Second Language
7.TELL: Technology- Enhanced Language Learning
Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases
CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉพาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล
2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และ การบูรณาการ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น
3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้
1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉพาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล
2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และ การบูรณาการ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น
3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)