http://www.vec.go.th/Default.aspx?tabid=1220
http://americanenglish.state.gov/english-teaching-forum
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL (Computer-assisted language learning program)
ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือ CALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล -คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI : Computer Assisted Leaning )
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer Assisted Language Learning)
-การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer Based Training Teaching )
-การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning)
-การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction)
-การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)