วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

My Profile


My name is Sakkarin Chinkhoonthong

My student ID : 5411114009

English  Education

Nakhon sri thammarat Rajabhat University

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Adobe captivate5 สร้างข้อสอบ.wmv


คุณค่าของ CAI

ในด้าน คุณค่าของ CAI ต่อการศึกษา นั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) มีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนหลายประการ ดังนี้ ( กิดานันท์ มลิทอง, 2535 )

1. คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็น ประสบการณ์ที่แปลกและใหม่

2. การใช้สี ภาพลายเส้นที่แลดูคล้ายเคลื่อนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น

3. ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนได้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไปได้

4. ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง ทำให้สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที

5. ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตนโดยสะดวกอย่างไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด

6. เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูล ได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI จึงนับว่ามีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง แต่การพัฒนา CAI ในเมืองไทยยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา การสร้างและทำการศึกษาวิจัย CAI ที่มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งรายวิชา ตรงตามหลักสูตรในลักษณะเป็น บทเรียนสำเร็จรูปการสอน (Instruction) เนื้อหาหรือความรู้ใหม่ ดำเนินหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้และหาประสิทธิผลของการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจทำการศึกษาวิจัยอย่างยิ่งในปัจจุบัน

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิวัฒนาการและประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI สามารถสรุปความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพอสังเขป ได้ดังนี้ (ศูนย์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ, 2545)
ปี ค.ศ. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.ศ. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI ปี ค.ศ. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น

ปี ค.ศ. 1971 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television

ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทำการเผยแพร่บทเรียนได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวโน้มในอนาคตต่อไปอันใกล้นี้ เราอาจพบเห็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนำเสนอผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า CAI on Web

ข้อดี-ข้อจำกัดของ CAI



          ข้อดี
  ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ อันจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น การเรียน (Active Learner) ช่วยให้การเรียนการสอนมีบรรยากาศที่ดี

  ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามอัตราความสามารถของตนเอง อันเป็นการสนองตอบผู้เรียนแต่ละคน  ซึ่งมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี

  ความแปลกใหม่ของคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มความสนใจและความตั้งใจของผู้เรียนให้มีมากขึ้น

  ความสามารถในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ทำให้การออกแบบบทเรียนให้สนองตอบผู้เรียน แต่ละคนได้ และสามารถประเมินผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

  สามารถให้การเสริมแรงได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบ โดยการให้ผลย้อนกลับทันทีในรูปของคำอธิบาย สีสัน ภาพ และเสียง  ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยช่วยให้การสอนมีคุณภาพสูงและคงตัว

  ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนสามารถกระทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

  ผู้เรียนสามารถเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่

  ช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการดูแลผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่าย และสะดวกในการนำออกไปใช้

ข้อจำกัด
  การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรม
         เพื่อใช้ในวงการอื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัด
        ที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ

  การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้อง
         อาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น

  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอน
         ทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิด
         สร้างสรรค์ของผู้เรียนได้

  ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน
         ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Computer Assisted Learning: A Helpful Approach in Learning English

   The surveys a number of EFL/ESL International learners in Malaysia.
 The findings > majority of learners find > CALL system helpful in improving their language skills, specifically in grammar component.
Abbreviations:
1. CALI :
 Computer Assisted Language Instruction
2.CALL : Computer Assisted Language Learning
3.FL: Foreign Language
4.GTM: Grammar Translation Method
5.PBL: Project-Based Learning
6.SL: Second Language
7.TELL: Technology- Enhanced Language Learning

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases

CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้

1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉพาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล

2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และ       การบูรณาการ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น

3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เว็บไซต์เกี่ยวกับ English language teaching (ELT)

http://www.vec.go.th/Default.aspx?tabid=1220

http://americanenglish.state.gov/english-teaching-forum

Learn English - OTHER, ANOTHER, OTHERS, THE OTHER, OTHERWISE


English language teaching (ELT)


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL (Computer-assisted language learning program)

ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือ CALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

           คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล -คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI : Computer Assisted Leaning ) 
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer Assisted Language Learning) 
-การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer Based Training Teaching ) 
-การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning) 
-การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction) 
-การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )

  ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที

2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ

3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้

4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว

5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง

6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น

8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท

9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน


 

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

A BRIEF HISTORY OF LANGUAGE TEACHING


       
         ารสอนภาษาเริ่มต้นจากการสอนภาษาละติน เมื่อ 500 ปีมาแล้ว ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ภาษาละตินก็ถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งการสอนเริ่มแรกนั้นจะเน้นการท่องจำเนื้อหา และโครงสร้างเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Grammar school's ภาษาที่ใช้ในการสอนก็จะเป็นภาษาละติน หรือภาษาแม่ของผู้เรียน
 Grammar translation method ก็จะเน้นการเรียนหลักไวยากรณ์ การแปล อ่าน และเขียน ท่องจำคำศัพท์ ใช้การสอนแบบ deductive ซึ่งครูจะบอกโครงสร้างก่อน แล้วตามด้วยตัวอย่าง การสอนก็จะใช้ภาษาแม่ของนักเรียนเป็นหลัก หลังจากนั้นก็มีการพัฒนามาเป็น 

ยุคก่อนการปฎิรูป(Pre-reform movement ) หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคปฎิรูป(The reform movement )ซึ่งนักปฏิรูปเชื่อกันว่า    ภาษาพูดเป็นภาษาหลัก   การออกเสียงในการสอนและการฝึกอบรมครูและ ผู้เรียนควรจะเรียนรู้การฟังก่อนที่จะได้เห็นภาษาในรูปแบบของการเขียน




Thinking Skills


Thinking Skills
บนจามิน บลูม ได้ให้ข้อสรุปของทักษะการคิดไว้ 6 ประการดังนี้

1.     Knowledge (ความรู้)
2.     Comprehension (ความเข้าใจ)
3.     Application (การประยุกต์ใช้)
4.     Analysis (การวิเคราะห์)
5.     Synthesis (การสังเคราะห์)
6.     Evaluation (การประเมินผล)
  Anderson & Krathwonl ได้เสนอแนวคิดทักษะการคิดฉบับแก้ไขของบลูม ไว้ดังนี้
1.     Remembering (การจำ)
2.     Understanding (ความเข้าใจ)
3.     Applying (การประยุกต์ใช้)
4.     Analyzing (การวิเคราะห์)
5.     Evaluating (การประเมินผล)
6.     Creating (การสร้างสรรค์)   

วิธีการสอนแบบ Multiple Intelligence

Multiple Intelligence


       นักเรียนมีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน พวกเขามีจุดแข็งเฉพาะตัวและเป็นจุดแข็งที่ไม่ซ้ำกันดังนั้นการ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 9 ด้าน ดังนี้

  • Verbal-Linguistic Intelligence  คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ 
  • Mathematical-Logical Intelligence คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผลและการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ 
  • Musical Intelligence  คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ 
  • Visual-Spatial Intelligence  คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี 
  • Bodily-Kinesthetic Intelligence  คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ 
  • Interpersonal Intelligence คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน 
  • Intrapersonal Intelligence  คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์
  • Naturalist Intelligence  คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์
  • Existential Intelligence คือ  ความไวและความสามารถในการจับประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ 

วิธีการสอนแบบ Task-Based Instruction

Task-Based Instruction

เป็นการสอนโดยผ่านกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้โดยงาน และมีจุดประสงค์ที่ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด ทักษะ และทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่ม และสื่อออกมาในลักษณะภาษาของผู้เรียนเอง


หลักการสำคัญ
1.     งานที่ทำต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน
2.     ก่อนทำชิ้นงานจริงต้องมีการซ้อมก่อน
3.     ครูควรจะแยกขั้นตอนในการทำงานให้ชัดเจน
4.     หาวิธีการที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานให้สำเร็จ
5.     ครูจะสอนโดยใช้ภาษาใดก็ได้
6.     มีการใช้ jigsaw task ในการสอน
7.     เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบงานด้วยตนเอง

วิธีการสอนแบบ Content Based Instruction

Content Based Instruction

เป็นวิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา


หลักการ
1.     สอนเนื้อหาวิชาอื่นๆ โดยการใช้ภาษาอังกฤษ
2.     ใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.     เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็ก
4.     เริ่มจากสิ่งง่ายๆ แล้วค่อยไปสู่สิ่งที่ยาก
5.     การเรียนภาษาจะเรียนได้ดี เมื่อถูกใช้เป็นสื่่อกลางในการแลกเปลี่ยนเนื้อหา
6.     เน้นการเรียนคำศัพท์ตามบริบท
7.     ถ้าผู้เรียนได้เรียนจากสถานการณ์จริง จะทำให้ใช้ภาษาได้ดีขึ้น


วิธีการสอนแบบ Suggestopedia

      วิธีการสอนแบบ Suggestopedia

                     วิธีสอนแบบนี้เน้นกิจกรรมการฟัง ซึ่งก็คือ ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาถิ่นรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย ผู้สอนจะอ่านบทสนทนาให้ผู้เรียนฟัง 3 ครั้ง ในครั้งแรก ผู้เรียนฟังบทสนทนาที่ครูอ่านให้ฟังโดยอ่านคำแปลไปด้วย ในการอ่านครั้งที่สองผู้เรียนอาจดูบทเรียนไปด้วย และจดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในการอ่านครั้งที่สามนั้น ผู้อ่านจะเปิดเพลงคลาสสิกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้วางหนังสือ และเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย จะหลับตาฟัง หรือจะหยิบบทเรียนขึ้นมาอ่านตามก็ได้ ในขั้นต่อไปอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมทางภาษา การเล่นละครสั้น การร้องเพลง หรือการตอบคำถาม

วิธีการสอนแบบ The Silent Way

The Silent Way

วิธีสอนแบบนี้ เป็นวิธีสอนที่ริเริ่มโดย Caleb Gattegno ในปี ค.ศ. 1963 ขาเห็นว่าการใช้วิธีสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนจำโครงสร้าง และคำศัพท์ได้ดีและพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาในระดับสูงขึ้นได้ดี 

หลักการสำคัญ
เป็นการสอนที่ครู "เงียบ" แต่ใช้การบอกใบ้ท่าทาง และสื่อทุกชนิด แผนภูมิสีเพื่อช่วยในการออกเสียง แท่งไม้ที่เรียกว่า "Cuisiniere rod" คือชุดของแท่งไม้ที่มีสีและความยาวที่แตกต่างกันที่ครูใช้ในการช่วยให้นักเรียนพูด โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน โดยใช้คำศัพท์ง่ายเช่น ครูยกแท่งไม้นักเรียนพูด "This is a yellow rod" แล้วครูกระตุ้นให้นักเรียนพูดประโยคซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Take the long yellow rod and give it to Cathy. ในระหว่างนี้ครูจะไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุดเพื่อให้นักเรียนสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และรู้สึกเป็นอิสระจากการควบคุมของครู นักเรียนจะต้องเรียนรู้ที่จะประเมินตนเองจะแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเองได้ 

วิธีการสอนแบบ Direct Method

Direct Method  เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจเป็นขั้นแรก  ต่อจากนั้นครูจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น วิธีการสอนนี้ไม่เน้นไวยากรณ์


ลักษณะสำคัญของการสอนแบบDirect Method มีดังนี้

ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย
ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน

ขั้นตอนการสอน
- ฟัง และ อ่าน- สอนคำศัพท์- ฝึกการออกเสียง- ถามคำถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ- สอนไวยากรณ์- ทำแบบฝึกหัด

เทคนิคการสอน- การอ่านออกเสียง- ฝึกถามตอบ- ให้นักเรียนแก้ไขข้อผิดพลาด- แบบฝึกสนทนา- แบบฝึกเติมคำในช่องว่าง- คำสั่ง- วาดแผนผัง- เขียน Paragraph

วิธีการสอนแบบ Grammar Translation Method


Grammar Translation Method เป็นวิธีการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน

หลักการสำคัญ
1.เป้าหมายของการเรียนคืออ่านออกเขียนได้ สามารถแปลประโยคเป็นภาษาเป้าหมายได้ 
2.เน้นการอ่านและเขียนเป็นหลัก ( ไม่เน้นฟังและพูด) 
3.ท่องจำคำศัพท์ 
4.เรียนหลักไวยากรณ์และเน้นความถูกต้อง 
5.สอนไวยากรณ์แบบ Deductive 
6.ใช้ภาษาแม่ในการสอน 


ขั้นตอนการสอน
     1. สอนคำศัพท์

     2. เรียนโครงสร้างไวยากรณ์ และ แบบฝึกหัด

     3. อ่าน และตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

     4. ตรวจการบ้าน, ทบทวน, เขียนประโยค และแปลประโยค

วิธีการสอนแบบ Whole Language Approach

Whole  Language Approach  เป็นการสอนภาษาโดยให้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะมีการเรียนรู้ภาษาแบบภาพรวม และครูควรมีการจัดสภาพการณ์ให้เด็กเรียนรู้การสื่อสารซึ่งกันและกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์และมีความหมายด้วยสถานการณ์จริง และเรียนรู้การใช้ภาษาเป็นองค์รวมโดยไม่แยกกิจกรรมการอ่าน การเขียน การพูด และการฟังออกจากกัน 

หลักการสำคัญ
1. ตอนแรกนักเรียนต้องมีการเรียนภาษาแบบภาพรวม

2. เด็กต้องเข้าใจภาพรวมของเนื้อหาของภาษาก่อนแล้วค่อยดูคำศัพท์หรือไวยากรณ์ (Top-Down)

3. ความผิดพลาดที่ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  ครูอาจจะทดสอบโดยการเขียน(writing)

วิธีการสอนแบบ Cooperative Learning

Cooperative Learning เป็นวิธีการสอนที่เน้นการทำงานร่วมกัน หรือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สอนให้นักเรียนได้ทำงานกันเป็นกลุ่มมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่่อกัน นอกจากนั้นยังเน้นทักษะทางสังคมอีกด้วย

หลักการที่สำคัญ

1. ต้องมีการเรียนรู้แบบอาศัยหลักการพึ่งพากัน 
2. มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
3. ต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) 
4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
5. ต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินผลได้ 


Lersen-Freeman, D. (2000). Techniques  and  Principles  in  Language  Teaching.  Hong  Kong :  Oxford  University  Press.p.164-169.

Reading Logs: Integrating Extensive Reading with Writing Tasks



In: English Teaching Forum 2011, Volume 49, Number 1Format(s): Text
This article informs instructors about blending reading logs into writing tasks. Several benefits are discussed, including clarifying objectives of reading and providing opportunities to respond to reading, building critical literacy, and monitoring student progress. The article describes how to develop an extensive reading project for advanced students that includes both comprehension and vocabulary strategies. Details include how to structure and format the reading logs as well as assessment procedures.
บทความนี้เกี่ยวกับการที่อาจารย์แจ้งบันทึกการอ่านและการผสมเนื้อหาที่อ่านลงในงานเขียน และได้กล่าวถึงประโยชน์หลายอย่างรวมทั้งชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอ่านและการให้โอกาสที่จะตอบสนองต่อการอ่านสร้างความรู้ที่สำคัญและการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน บทความนี้อธิบายวิธีการในการพัฒนาโครงการการอ่านอย่างกว้างขวางสำหรับนักเรียนระดับสูงที่มีความเข้าใจทั้งสองคำศัพท์และวิธีการ รายละเอียดรวมถึงวิธีการจัดรูปแบบโครงสร้างและการอ่านบันทึกเช่นเดียวกับขั้นตอนการประเมิน

Classroom Techniques:- Counseling and Oral Communication



In: English Teaching Forum 2003, Volume 41, Number 3Format(s): Text
This article addresses a social divide that occurs between university students who have attended English secondary schools and those who have not. The lower proficiency students tend to be from lower social-economic status and hesitate to speak because they fear humiliation. This article reminds instructors that low-proficiency learners need a safe place to make mistakes and build confidence. As an icebreaker, students discuss what hinders them from speaking to an audience. They then give speeches introducing themselves. Finally, they give a formal speech.
บทความนี้เน้นการแบ่งทางสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมภาษาอังกฤษและผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าเรียนได้ซึ่งนักเรียนเหล่านั้นมีความสามารถต่ำและมีแนวโน้มที่จะจากสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำและพวกลังเลที่จะพูดเพราะกลัวอับอาย บทความนี้จะบอกให้รู้ว่าผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนในระดับต่ำโดยต้องใช้สถานที่ปลอดภัยเพื่อให้ความผิดพลาดและสร้างความเชื่อมั่น ครูต้องหารือเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อพวกเขาจากการพูดกับผู้ชม จากนั้นพวกเขาให้กล่าวสุนทรพจน์แนะนำตัวเอง ในที่สุดพวกเขาให้พูดอย่างเป็นทางการ

Phonetic Symbols: A Necessary Stepping Stone for ESL Students


In: English Teaching Forum 2002, Volume 40, Number 4Format(s): Text
This article discusses why English pronunciation and intonation have been ignored in Hong Kong ESL classes. It also discusses why it is essential to teach English phonetic symbols to attain better pronunciation skills. The article describes what actions should be taken to implement an English pronunciation component into teaching ESL.

บทความนี้กล่าวถึงเหตุผลที่การออกเสียงภาษาอังกฤษและน้ำเสียงได้รับการละเลยในฮ่องกง นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่าทำไมมันเป็นสิ่งสำคัญในการสอนสัทอักษรภาษาอังกฤษที่จะบรรลุทักษะการออกเสียงที่ดีกว่า บทความอธิบายถึงสิ่งที่ดำเนินการควรจะนำไปใช้องค์ประกอบการออกเสียงภาษาอังกฤษในการสอน ESL

Lesson Plan: Athletes, Actions, and Adjectives



In: English Teaching Forum 2010, Volume 48, Number 4Format(s): Text
People who are very familiar with American football and those completely unfamiliar with it can benefit from the interactive, communicative activities presented in this lesson plan. Students can analyze examples from the NFL and create their own team names, team logos, and player descriptions. Ideas for teaching adjectives and body parts are also provided. In the spirit of the game, the plan features quick, lively group activities, all under 50 minutes each.
คนที่มีความคุ้นเคยกับอเมริกันฟุตบอล จะได้ประโยชน์จากการโต้ตอบกิจกรรมเพื่อการสื่อสารที่นำเสนอในแผนบทเรียนนี้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างจาก NFL และสร้างชื่อทีมของตัวเองโลโก้ทีมและรายละเอียดของผู้เล่น ความคิดในการเรียนการสอนและคำคุณศัพท์ส่วนของร่างกายนอกจากนี้ยังมี ในจิตวิญญาณของเกมวางแผนมีรวดเร็วกิจกรรมกลุ่มที่มีชีวิตชีวาทั้งหมดอยู่ภายใต้ 50 นาที